วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

    สื่อการเรียนการสอน
ความหมาย
               
            สื่อนับเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสอนตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ตรงกับผู้สอนต้องการ  ไม่ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น
                ในการเล่าเรียน  เมื่อผู้สอนนำสื่อมาใช้ประกอบการสอนเรียกว่า สื่อสอนการสอน  และเมื่อนำมาให้ผู้เรียนใช้เรียกว่า  สื่อการเรียน  โดยเรียกรวมกันว่า  สื่อการเรียนการสอน  หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า  สื่อการสอน  หมายถึงสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง  สไลด์ วิทยุ  โทรทัศน์  วีดิทัศน์  แผนภูมิ  รูปภาพ  ฯลฯ  ซึ่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน  หรือเป็นอุปกรณ์เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาใช้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางทำให้การสอนส่งไปถึงผู้เรียน  สื่อการสอนถือว่ามีบทบาทมากในการเรียนการสอนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
                    สื่อการเรียนการสอนนั้น เป็นตัวกลางหรือช่องทางถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสื่อการเรียนก็นับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนผู้สอนได้แสดงบทบาท และเกิดความเข้าใจในวิชาที่เรียนที่สอนกันได้มากขึ้น
            ดังนั้น สื่อการสอนจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนการสอน ซึ่งแต่เดิมสื่อการสอนถูกเรียกว่า โสตทัศนูปกรณ์
                             
ประเภทของสื่อนั้น เราสามารถจำแนกได้ 3 รูปแบบ คือ
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->แบ่งตามระดับประสบการณ์ของผู้เรียน
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->แบ่งตามรูปร่างลักษณะของสื่อ
<!--[if !supportLists]-->3.             <!--[endif]-->แบ่งตามลักษณะของการนำไปใช้
การแบ่งประเภทของสื่อตามประสบการณ์ของผู้เรียน มีแนวคิดที่ว่า การเรียนรู้ของ
มนุษย์ย่อมเกิดจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆโดยผ่านสื่อกลาง ระดับของประสบการณ์ที่ได้รับย่อมมีปริมาณมาก-น้อยแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับว่ามีความเป็นรูปธรรม หรือนามธรรมมากน้อยเพียงไร

***แนวคิดของ Edgar Dale แบ่งประสบการณ์ได้เป็น 11 ประเภท ได้แก่

             1.ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย                                    2.ประสบการณ์จำลอง
3.ประสบการณ์นาฏการ                                                    4.การสาธิต
             5.การศึกษานอกสถานที่                                                    6.นิทรรศการ
             7.โทรทัศน์การศึกษา                                                         8.ภาพยนตร์
9.ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง วิทยุ                                        10.ทัศนสัญลักษณ์
            11.วัจนสัญลักษณ์

***Wilbure Young ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->ทัศนวัสดุ ได้แก่ กระดานชอล์ก แผนภูมิ รูปภาพ สไลด์ ฟิล์ม ฟิล์มสตริป
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->โสตวัสดุ ได้แก่ เทปบันทึกเสียง วิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา
<!--[if !supportLists]-->3.             <!--[endif]-->โสตทัศนวัสดุ ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์
<!--[if !supportLists]-->4.             <!--[endif]-->เครื่องมือต่างๆ ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องเสียง
<!--[if !supportLists]-->5.             <!--[endif]-->กิจกรรม ได้แก่ นิทรรศการ การสาธิต นาฏการ การศึกษานอกสถานที่

***Gerlach and Ely ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->ภาพนิ่ง ได้แก่ รูปภาพต่างๆ ทั้งที่เป็นภาพถ่าย ภาพพิมพ์ และภาพที่มีอยู่ในหนังสือ สไลด์ ฟิล์ม และภาพโปร่งใส
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->การบันทึกเสียง ได้แก่ สื่อที่บันทึกเสียงไว้ เช่น แผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ และเทปโทรทัศน์ เป็นต้น สื่อประเภทนี้จัดเป็นวัจนวัสดุ
<!--[if !supportLists]-->3.             <!--[endif]-->ภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ ฟิล์มภาพยนตร์ และ เทปโทรทัศน์
<!--[if !supportLists]-->4.             <!--[endif]-->โทรทัศน์
<!--[if !supportLists]-->5.             <!--[endif]-->ของจริง สถานการณ์จำลอง และหุ่นจำลอง
<!--[if !supportLists]-->6.             <!--[endif]-->การสอนแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
***เปรื่อง กุมุท ได้แบ่งสื่อการเรียนการสอนไว้ 5 ประเภท ดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->บุคลากร ได้แก่ ครู วิทยากร
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->วัสดุ ได้แก่ กระดาษ สี ของจริง สิ่งจำลอง หนังสือ ฟิล์ม
<!--[if !supportLists]-->3.             <!--[endif]-->เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องมือปฏิบัติงาน
<!--[if !supportLists]-->4.             <!--[endif]-->สถานที่ ได้แก่ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การแสดงบทบาทสมมติ
โดยทั่วไป วงการเทคโนโลยีการศึกษา แบ่ง สื่อการศึกษาออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการส่งสาร หรือส่งสื่อ ซึ่งเครื่องมือ หรืออุปกรณ์นี้ จำเป็นต้องมี ส่วนประกอบที่เรียกว่า soft ware เพื่อนำข้อมูลในวัสดุ ส่งไปยังผู้รับ
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->วัสดุ (soft ware) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา ทำหน้าที่คือ การเก็บสารไว้ในตัว เพื่อใช้ประกอบกับเครื่องมือ หรืออุปกรณ์เพื่อใช้ในการส่งสาร หรือบางครั้ง ก็สามารถส่งสารด้วยตัวของมันเอง
<!--[if !supportLists]-->3.             <!--[endif]-->เทคนิค หรือวิธีการ เป็นการกระทำที่อยู่ในรูปแบบของการปฏิบัติ อาจจะใช้วัสดุเครื่องมือ หรือไม่ใช้ก็ได้ เทคนิคที่จัดว่าเป็นสื่อการสอนเช่น การแสดงนาฏการ การสาธิต การบรรยาย เป็นต้น

***ศิริพงศ์ พะยอมแย้ม ได้ให้ทัศนะด้านประเภทของสื่อไว้ว่า สื่อสามารถแบ่งตามมิติออกเป็น 3 แบบได้แก่
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->สื่อสามมิติ
<!--[if !supportLists]-->ก.<!--[endif]-->สื่อ 3 มิติชนิดเคลื่อนไหว เช่น บุคคล การสาธิต นาฏการ
<!--[if !supportLists]-->ข.<!--[endif]-->สื่อ 3 มิติชนิดนิ่ง เช่น ของจริง ของจำลอง
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->สื่อ 2 มิติ
<!--[if !supportLists]-->ก.<!--[endif]-->สื่อ 2 มิติชนิดเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์
<!--[if !supportLists]-->ข.<!--[endif]-->สื่อ 2 มติชนิดนิ่ง เช่น รูปภาพ สไลด์ แผนที่ กระดานชอล์ก
<!--[if !supportLists]-->3.             <!--[endif]-->สื่อไร้มิติ ได้แก่ ภาษาพูด เสียงเพลง

การแบ่งประเภทของสื่อการสอน ตามการนำไปใช้

***Carlton W.H. Erickson and David H. Curl ได้แบ่งสื่อการเรียนการสอนในแง่ของการนำไปใช้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->สื่อทัศนะที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ หนังสือพิมพ์ รูปภาพ ของจริง การศึกษานอกสถานที่ หุ่นจำลอง สถานการณ์จำลอง เกม วัสดุกราฟิก ป้ายนิเทศ และนิทรรศการ กระดานดำ แผ่นป้ายสำลี กระเป๋าผนัง แผ่นป้ายไฟฟ้า
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->สื่อที่ต้องฉาย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ เทปโทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป ไมโครฟิล์ม การบันทึกเสียง
***Gerlach and Ely ได้แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะทางกายภาพได้ 6 ประเภท ดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->ภาพนิ่ง อาจะเป็นภาพประกอบในหนังสือ ภาพประกอบป้ายนิเทศ สไลด์ หรือฟิล์มสตริป เป็นต้น
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->วัสดุอุปกรณ์ประเภทเสียง ได้แก่การบันทึกเสียง แผ่นเสียง หรือ ระบบเสียงในฟิล์มภาพยนตร์
<!--[if !supportLists]-->3.             <!--[endif]-->ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์
<!--[if !supportLists]-->4.             <!--[endif]-->โทรทัศน์
<!--[if !supportLists]-->5.             <!--[endif]-->ของจริง สถานการณ์จำลอง หุ่นจำลอง
<!--[if !supportLists]-->6.             <!--[endif]-->บทเรียนโปรแกรมและคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ในการเลือกใช้สื่อการสอนนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความสามารถในการเลือกใช้สื่อแต่ละประเภท ให้เหมาะสม ซึ่งต้องพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่
      1.องค์ประกอบในการเลือกใช้สื่อ
<!--[if !supportLists]-->1.1                  <!--[endif]-->จุดมุ่งหมายของการสอนและเนื้อหารายวิชา ผู้สอนจำเป็นต้องนำจุดมุ่งหมายของการสอนและเนื้อหาวิชา มาเป็นเครื่องพิจารณาเพื่อกำหนดได้ว่า ในเนื้อหาลักษณะวิชาที่จะนำมาสอนนี้ต้องการให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้หรือมีพฤติกรรมขั้นสุดท้ายเป็นเช่นไร
<!--[if !supportLists]-->1.2                  <!--[endif]-->รูปแบบและระบบของการเรียนการสอน ซึ่งรูปแบบของการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ย่อมมีผลต่อการเลือกสื่อการเรียนการสอน เช่น การบรรยาย อภิปราย หรือการสาธิต
<!--[if !supportLists]-->1.3                  <!--[endif]-->ลักษณะของผู้เรียน โดยต้องพิจารณาทั้ง อายุ เพศ เจตคติ ความเชื่อ พื้นฐานความรู้ ความถนัดทางการเรียน เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม
<!--[if !supportLists]-->1.4                  <!--[endif]-->เกณฑ์เฉพาะของสื่อ ซึ่งสื่อแต่ละประเภท จะมีคุณสมบัติ และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงบทบาทของสื่อแต่ละชนิด ก่อนทำการเลือกใช้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการเรียนการสอน
<!--[if !supportLists]-->1.5                  <!--[endif]-->วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก โดยต้องคำนึงถึงสภาพของวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่มีอยู่ในสถานที่นั้นๆ

<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อ กับคุณสมบัติของสื่อ และจุดประสงค์การเรียนการสอน โดยจุดประสงค์ทางการเรียนการสอน สามารถจำแนกองค์ประกอบได้fy’ouh
2.1 ประเภทของสื่อ
2.2 คุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
2.3 จุดประสงค์ของการเรียนการสอน
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน

สื่อต่างๆ  ที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศจากผู้สอนไปยังผู้เรียน  หรือเป็นสิ่งที่ผู้เรียนใช้ศึกษาความรู้ด้วยตนเอง  นักวิชาการได้จำแนกสื่อการสอนตามประเภท  ลักษณะและวิธีการใช้ดังนี้

สื่อโสตทัศน์
เป็นสื่อที่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มของสื่อการเรียนการสอน  โดยเป็นสื่อที่บรรจุหรือถ่ายทอดข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการได้ยินเสียงและเห็นภาพ  สื่อที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม  เช่น  หนังสือตำราเรียน  ภาพ  ของจริง  ของจำลอง  จะเป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาในตัวเอง  ต่อมามีการใช้เทคโนโลยีในการประดิษฐ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการถ่ายทอดเนื้อหาและเนื้อหาและวัสดุที่ใช้กับอุปกรณ์เหล่านี้                         โรเบิร์ต อี. เดอ  คีฟเฟอร์  (Robert  E.  de  Kieffer)  ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น  2  ประเภทตามลักษณะที่ใช้สื่อความหมายทางเสียงและภาพรวมเรียกว่า  สื่อโสตทัศน์  (audiovisual  materials)       ในปัจจุบันมีสื่อโสตเพิ่มขึ้นมากจากที่เดอ  คีฟเฟอร์  ได้กล่าวไว้ทั้ง  3  ประเภท  ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่างสื่อใหม่รวมไปในแต่ละประเภทดังนี้
1.  สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected  materials)  เป็นสื่อที่ใช้การทางทัศนะโดยไม่ต้อง           ใช้เครื่องฉายร่วมด้วย  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  ได้แก่สื่อภาพ (illustrative  materials)  เป็นสื่อ                 ที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา  เช่น  ภาพกราฟิก  กราฟ  แผนที่  ของจริง  ของจำลอง  กระดานสาธิต  (demonstration  boards)  ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา  เช่นกระดานชอล์ก  กระดานนิเทศ  กระดานแม่เหล็ก  กระดานผ้าสำลี  ฯลฯ  และกิจกรรม(activites) 
2. สื่อเครื่องฉาย  (projected  and  equipment)  เป็นวัสดุและอุปกรณ์  อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยภาพหรือทั้งภาพทั้งเสียง  อุปกรณ์มีทั้งแบบฉายตรงและฉายอ้อมเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะอุปกรณ์นั้นเพื่อให้เป็นภาพปรากฏขึ้นบนจอเช่นเครื่องฉายข้ามศีรษะใช้กับ
แผ่นโปร่งใส  เครื่องฉายสไลด์  ใช้กับแผ่นฟิล์มสไลด์  หรือให้ทั้งภาพและเสียง  เช่น  เครื่องฉายภาพยนตร์ฟิล์ม  เครื่องเล่นดีวีดีใช้กับวีซีดีและดีวีดี  เหล่านี้เป็นต้น  นอกจากนี้ยังอาจรวมเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ  คือ  เครื่องแอลซีดีที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณจากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นวีซีดี  เข้าไว้ในเครื่องด้วย            เพื่อนำสัญญาณภาพจากอุปกรณ์เหล่านั้นขึ้นจอภาพ
3.  สื่อเสียง   (audio  materials  and  equipment)  เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์            เพื่อการสื่อสารด้วยเสียง อุปกรณ์เครื่องเสียงจะใช้ถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะกับอุปกรณ์นั้นเพื่อเป็นเสียงให้ได้ยิน  เช่น  เครื่องเล่นซีดีใช้กับแผ่นซีดี  เครื่องเล่น/บันทึกเทปใช้กับเทปเสียง  หรืออาจเป็นอุปกรณ์ในการถ่ายทอดสัญญาณเสียงดังเช่นวิทยุที่รับสัญญาณเสียงจากแหล่งส่งโดยไม่ต้องใช้วัสดุใดๆในการนำเสนอเสียง


<!--[if !vml]--><!--[endif]-->สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้

การแบ่งประเภทของสื่อการสอน  ถ้าแบ่งตามระดับประสบการณ์ของผู้เรียน  ซึ่ง  เดล             (Dale 1969:107)  ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น  10  ประเภท  โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น  โดยยึดเอาความเป็นรูปธรรมและนามธรรมเป็นหลักในการแบ่งประเภท  และได้เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุดประสบการณ์  ที่เป็นนามธรรมที่สุด  (Abstract  Concrete  Continuum)  เรียกว่า  กรวยประสบการณ์  (Cone  of  Experience) 

ขั้นที่1  ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย  (Direct  Purposeful  Experience)
       ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อกาสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->

ขั้นที่  2  ประสบการณ์จำลอง  (Contrived Simulation Experience )
     ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตรายไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experience)
      ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration)
     การสาธิต คือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิดการ ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด

ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)
     การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibition) 
นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง
ขั้นที่ 7 ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ (Motion Picture and Television) 
   โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟัง อย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
ขั้นที่ 8 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Picture) 
    ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียงซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วย แล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่าช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์  (Visual Symbol) 
   ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิแผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้า ใจได้รวดเร็วขึ้น
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
ขั้นที่ 10 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol)
       วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตามเราก็ใช้ประโยชน์ จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา
สื่อแบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้

ทรัพยากร  หมายถึง  สิ่งทั้งปวงที่มีค่า  ทรัพยากรการเรียนรู้  (learning  resources)  จึงหมายถึงทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือสิ่งที่คนประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการเรียนรู้  โดนัลด์  พี.  อีลี  (Donald  P.  Ely)  (Ely,  1972:36:42)  ได้จำแนก
คุณค่าของสื่อการสอน

      สื่อการสอนนับว่าเป็นสื่อสำคัญในการเรียนรู้เนื่องจากเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาจากผู้สอนไปยังผู้เรียน  หรือเป็นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง  ดังนั้น  สื่อการสอนจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอน  ดังนี้

สื่อกับผู้เรียน
                สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้เรียนดังนี้
                -  เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น  และช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
                -  สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนทำให้เกิดความรู้สนุกสนานและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน
                -  การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันหากเป็นเรื่องของนามธรรมและยากต่อความเข้าใจ  และช่วยให้เกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน
                -  สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน  ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย
                -  สร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านี้
                -  ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล

สื่อกับผู้สอน
                สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้สอนดังนี้
                -  การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆประกอบการเรียนการสอน  เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น  ทำให้ผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว   และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย
                -  ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหาเพราะสามารถนำสื่อมาใช้ซ้ำได้  และบางอาจให้นักศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
                -  เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลผลิตวัสดุและเรื่องราวใหม่ๆเพื่อใช้เป็นสื่อการสอน  ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ  เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น
                อย่างไรก็ตาม  สื่อการสอนจะมีคุณค่าต่อเมื่อผู้สอนได้นำไปใช้อย่างเหมาะสมและถูกวิธีดังนั้น  ก่อนที่จะนำสื่อแต่ละอย่างไปใช้  ผู้สอนควรจะศึกษาถึงลักษณะและคุณสมบัติของสื่อการสอนข้อดีและข้อจำกัดอันเกี่ยวเนื่องกับตัวสื่อและการใช้สื่อแต่ละอย่าง  ตลอดจนการผลิตและการใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนด้วย  ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการการเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้
การออกแบบสื่อการสอน

      การออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน

ลักษณะการออกแบบที่ดี ( Charecteristics of Good Design )
1. ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น
หลักการออกแบบสื่อ

       1.ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ต้องพิจารณาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นของการเรียนการสอนนั้นมาเป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อ
       2.ลักษณะของผู้เรียน ใช้ลักษณะของผู้เรียนในกลุ่มหลัก เป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อก่อน หากจำเป็นจึงค่อยพิจารณาสื่อเฉพาะสำหรับผู้เรียนในกลุ่มพิเศษต่อไป
       3.ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อ ได้แก่
   ก. ลักษณะกิจกรรมการเรียน ซึ่งครูอาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น
-การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะของการบรรยาย การสาธิต
-การสอนกลุ่มเล็ก
-การสอนเป็นรายบุคคล
กิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละลักษณะย่อมต้องการสื่อต่างประเภท ต่างขนาด เช่น สื่อประเภทสไลด์ ภาพยนตร์มีความเหมาะสมกับการเรียนในลักษณะกลุ่มใหญ่ วีดีโอ ภาพขนาดกลาง เหมาะกับการสอนกลุ่มเล็ก ส่วนสื่อสำหรับรายบุคคลจะต้องในลักษณะเฉพาะตัวที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และวัดผลด้วยตนเอง
     ข. สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ ได้แก่ไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบสำคัญการออกแบบสื่อสำหรับโรงเรียน หรือท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ย่อมต้องหลีกเลี่ยงสื่อวัสดุฉาย
     ค. วัสดุพื้นบ้าน หรือวัสดุท้องถิ่น นากจากจะหาใช้ได้ง่ายแล้วยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับสภาพจริงในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าอีกด้วย ดังรั้นสื่อเพื่อการสอนบรรลุเป้าหมายเดียวกัน อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพของวัสดุพื้นบ้าน
        4.ลักษณะของสื่อ ในการออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อในเรื่องต่อไปนี้
   ก. ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ สื่อบางชนิดมีความเหมาะสมกับผู้เรียนบางระดับ หรือเหมาะกับจำนวนผู้เรียนที่แตกต่างกัน เช่น แผนภาพจะใช้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน ภาพการ์ตูนเหมาะสมกับเด็กประถมศึกษา ภาพยนตร์เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มใหญ่ วิทยุเหมาะกับการสอนมวลชน ฯลฯ
   ข. ขนาดมาตรฐานของสื่อ แม้ว่ายังไม่มีการกำหนดเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่ก็ถือเอาขนาดขั้นต่ำที่สามารถจะมองเห็นได้ชัดเจน และทั่วถึงเป็นเกณฑ์ในการผลิตสื่อ ส่วนสื่อวัสดุฉายจะต้องได้รับการเตรียมต้นฉบับให้พอดีที่จะไม่เกิดปัญหาในขณะถ่ายทำหรือมองเห็นรายละเอียดภายในชัดเจน เมื่อถ่ายทำขึ้นเป็นสื่อแล้ว การกำหนดขนาดของต้นฉบับให้ถือหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
-การวาดภาพและการเขียนตัวหนังสือได้สะดวก
-การเก็บรักษาต้นฉบับทำได้สะดวก
-สัดส่วนของความกว้างยาวเป็นไปตามชนิดของวัสดุฉาย
ลักษณะของสื่อการสอนที่ดี
         สื่อการสอนที่ดีย่อมช่วยให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ
<!--[if !supportLists]-->1.            <!--[endif]-->มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
<!--[if !supportLists]-->2.            <!--[endif]-->มีความเหมาะสมกับรูปแบบของการเรียนการสอน
<!--[if !supportLists]-->3.            <!--[endif]-->มีความเหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
<!--[if !supportLists]-->4.            <!--[endif]-->มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของการใช้สื่อ
หลักการเลือกสื่อการสอน
       การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  โดยผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้  นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆ  เพื่อประกอบการพิจารณา  คือ
                -  สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
                        -  เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง  ทันสมัย  น่าสนใจ  และเป็นสื่อที่ให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด  ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหานั้นได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
                -  เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย  ระดับชั้น  ความรู้  และประสบการณ์ของผู้เรียน
                -  สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้  มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
                -  ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพ  มีเทคนิคการผลิตที่ดี  มีความชัดเจนและเป็นจริง
                -  มีราคาไม่แพงจนเกินไป  หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
   หลักการใช้สื่อการสอน
       ภายหลังจากที่ผู้สอนได้เลือกและตัดสินใจแล้วว่าจะใช้สื่อประเภทใดบ้างในการสอนเพื่อให้เรียนสามารถเรียนรู้จากการถ่ายทอดเนื้อหาของสื่อนั้นได้ดีที่สุด  ผู้สอนจำเป็นต้องมีหลักในการใช้สื่อการสอนตามลำดับดังนี้ 
                -  เตรียมตัวผู้สอน  เป็นการเตรียมตัวในการอ่าน  ฟังหรือดูเนื้อหาที่อยู่ในสื่อที่จะใช้ว่ามีเนื้อหาถูกต้อง  ครบถ้วน  และตรงกับที่ต้องการหรือไม่  ถ้าสื่อนั้นมีเนื้อหาไม่ควร  ผู้สอนจะเพิ่มโดยวิธีใดในจุดไหนบ้าง  จะมีวิธีใช้สื่ออย่างไร  เช่น  ใช้ภาพนิ่งเพื่อเป็นการนำบทเรียนที่จะสอน แล้วอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียนนั้น  ต่อจากนั้นเป็นการให้ชมวีดิทัศน์เพื่อเสริมความรู้  และจบลงโดยการสรุปด้วยแผ่นโปร่งใสหรือสไลด์ในโปรแกรม  PowerPoint  อีกครั้งหนึ่งดังนี้ เป็นต้น  ขั้นตอนเหล่านี้ผู้สอนต้องเตรียมตัวโดยเขียนลงในแผนการสอนเพื่อการใช้สื่อได้ถูกต้อง
                -  เตรียมจัดสภาพแวดล้อม  โดยการจัดเตรียมวัสดุ  เครื่องมือ  และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้พร้อม  ตลอดจนต้องเตรียมสถานที่หรือห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมด้วย  เช่น  มีปากกาเขียนแผ่นโปร่งใสพร้อมแผ่นโปร่งใส  แถบวีดิทัศน์ที่นำมาฉายมีการกรอกกลับตั้งแต่ต้นเรื่องโทรทัศน์ต่อเข้ากับเครื่องเล่นวีดิทัศน์เรียบร้อย  ที่นั่งของผู้เรียนอยู่ในระยะที่เหมาะสม  ฯลฯ  สภาพแวดล้อมและ             ความพร้อมต่างๆเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยในการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความสะดวกราบรื่นไม่เสียเวลา

                -  เตรียมพร้อมผู้เรียน  เป็นการเตรียมผู้เรียนโดยมีการแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดว่าเนื้อหาในสื่อเป็นอย่างไร  เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมในการฟังดู  หรืออ่านเนื้อหาจากสื่อนั้นให้เข้าใจได้ดีและสามารถจับประเด็นสำคัญของเนื้อหาได้  หรือหากผู้เรียนมีการใช้สื่อด้วยตนเองผู้สอนต้องบอกวิธีการใช้ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ที่ผู้เรียนจะต้องมีกิจกรรมอะไรบ้าง  เช่น  มีการทดสอบ  การอภิปราย  การแสดง  หรือการปฏิบัติ  ฯลฯ  เพื่อผู้เรียนจะเตรียมตัวได้ถูกต้อง
                        -  การใช้สื่อ  ผู้สอนต้องใช้สื่อให้เหมาะกับขั้นตอนที่เตรียมไว้แล้วเพื่อดำเนินการสอนได้อย่างราบรื่น  และต้องควบคุมการเสนอสื่อให้ถูกต้อง  ตัวอย่างเช่น  ในการฉายวีดิทัศน์  ผู้สอนต้องปรับภาพที่ออกทางเครื่องรับโทรทัศน์ให้ชัดเจน  ปรับเสียงอย่าให้ดังจนรบกวนห้องเรียนอื่นหรือค่อยเกินไปจนผู้เรียนที่นั่งอยู่หลังห้องไม่ได้ยิน  ดูว่ามีแสงตกลงบนพื้นจอหรือไม่  หากใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะต้องปรับระยะเครื่องฉายไม่ให้ภาพเบี้ยว  (keystone  effect)  ดังนี้เป็นต้น 
                -  การประเมินติดตามผล  หลังจากมีการเสนอสื่อแล้ว  ควรมีการประเมินและติดตามผลโดยการให้ผู้เรียนตอบคำถาม  อภิปราย  หรือเขียนรายงาน  เพื่อเป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนและเรียนรู้จากสื่อที่เสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่  เพื่อผู้สอนจะได้สามารถทราบจุดบกพร่องและแก้ไขปรับปรุงการสอนของตนได้
ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน
     การใช้สื่อการสอนนั้นอาจใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน  หรือจะใช้ในทุกขั้นตอนก็ได้  ดังนี้
                -  ขั้นนำสู่บทเรียน  เพื่อกระตุ้นให้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนสื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ  หรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเรียนในครั้งก่อนยังมิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกจริง  อาจเป็นสื่อที่เป็นแนวปัญหาหรือเพื่อให้ผู้เรียนคิด  และควรเป็นสื่อที่ง่ายต่อการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น  เช่น  ภาพ  บัตรคำ  หรือเสียง  เป็นต้น
-  ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน  เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะจะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ผู้สอนจึงต้องเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาและวิธีการสอนหรืออาจจะใช้สื่อประสมก็ได้  ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน  การใช้สื่อในขั้นนี้จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียดถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เรียน  เช่น  ของจริง  แผ่นโปร่งใส  กราฟ  วีดิทัศน์  แผ่นวีซีดี  หรือการทัศนศึกษานอกสถานที่  เป็นต้น 
-  ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ  เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียน              ได้ทดลองนำความรู้ด้านทฤษฏีหรือหลักการที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัดโดยการลงมือ        ฝึกปฏิบัติเอง  สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหา  เทปเสียง  สมุดแบบฝึกหัด  ชุดการเรียน  หรือบทเรียนซีเอไอ  เป็นต้น
-  ขั้นสรุปบทเรียน  เป็นการเน้นย้ำเนื้อหาให้มีความเข้าใจที่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้           ขั้นสรุปนี้ควรใช้เพียงระยะเวลาน้อย  เช่น  แผนภูมิ  โปร่งใส  กราฟ  เป็นต้น
-  ขั้นประเมินผู้เรียน  เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือเข้าใจสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใด  และบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่  สื่อในขั้นประเมินนี้มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจมีภาพประกอบด้วยก็ได้  อาจนำบัตรคำหรือสื่อที่ใช้ขั้นกิจกรรมการเรียนมาถามอีกครั้งหนึ่ง  และอาจเป็นการทดสอบโดยการปฏิบัติจากสื่อหรือการกระทำของผู้เรียนเพื่อทดสอบดูว่าผู้เรียนสามารถมีทักษะจากการฝึกปฏิบัติอย่างถูกต้องครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
   การนำเสนอสื่อการเรียนการสอนนั้นต้องประกอบไปด้วยขั้นต่างๆดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->กลยุทธ์ในการนำเสนอสื่อ
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->ความสามารถในการนำเสนอสื่อขงผู้สอน
<!--[if !supportLists]-->3.             <!--[endif]-->การใช้สื่อการสอนในระยะต่างๆ (ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นประเมินผล)
<!--[if !supportLists]-->4.             <!--[endif]-->การจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการใช้สื่อการสอน
<!--[if !supportLists]-->5.             <!--[endif]-->การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน
โดยการวางแผนการใช้สื่อ ควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆต่อไปนี้
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->จะใช้สื่อเมื่อไหร่
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->ใช้สื่อประเภทใด
<!--[if !supportLists]-->3.             <!--[endif]-->ว่างแผนใช้สื่ออย่างไร
              การบำรุงรักษาสื่อนั้น มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะทุกครั้งที่มีการนำสื่อการสอนออกไปใช้ ย่อมมีโอกาสทำให้สื่อเกิดความเสียหาย ดังนั้น การบำรุงรักษาสื่อ จึงเป็นกระบวนการหนึ่งในการยืดอายุการใช้งานสื่อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกเหนือจากการซ่อมบำรุงแล้ว การบำรุงรักษาสื่อยังหมายรวมไปถึงการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของสื่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมออีกด้วย โดยมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.                                                     <!--[endif]-->ก่อนนำสื่ออกไปใช้ ต้องตรวจสภาพของสื่อเสมอ ว่ามีการชำรุดตรงจุดใดหรือไม่ หากมี ให้ดำเนินการซ่อมแซมเพื่อมิให้สื่อเกิดความเสียหายมากขึ้นระหว่างใช้งาน
<!--[if !supportLists]-->2.                                                     <!--[endif]-->ระหว่างการใช้สื่อ ต้องใช้สื่อด้วยความระมัดระวัง อ่านวิธีการใช้สื่อให้เข้าใจก่อนการใช้งานทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสร้างความเสียหายกับตัวสื่อ
<!--[if !supportLists]-->3.                                                     <!--[endif]-->เมื่อใช้เสร็จให้ตรวจสอบสื่อทุกครั้งว่ามีจุดเสียหาย ต้องดำเนินการซ่อมแซมหรือไม่
<!--[if !supportLists]-->4.                                                     <!--[endif]-->ในการเก็บรักษาสื่อ ต้องเก็บรักษาสื่อในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภท เช่น ไม่ควรเก็บสื่อแผนที่ ไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง และต้องมีการนำสื่ออกมาตรวจสอบสภาพเป็นระยะๆเพื่อป้องกันความเสียหายจากการเก็บรักษา                          
 สื่อการเรียนการสอนตามทรัพยากร

สื่อการเรียนการสอนตามทรัพยากรการเรียนรู้  5  รูปแบบ  โดยแบ่งได้เป็นสื่อที่ออกแบบขึ้นเพื่อ  จุดมุ่งหมายทางการศึกษา            (by  design)  และสื่อที่มีอยู่ทั่วไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน (by  utiliegation)  ได้แก่
       1.  คน  (people)  คน  ในทางการศึกษาโดยตรงนั้น  หมายถึง  บุคคลที่อยู่ในระบบของโรงเรียน  ได้แก่  ครู  ผู้บริหาร  ผู้แนะนำการศึกษา  ผู้ช่วยสอน  หรือผู้ที่อำนวยความสะดวกด้านต่างๆ
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  ส่วน  คน  ตามความหมายของการประยุกต์ใช้  ได้แก่คนที่ทำงานหรือมีความชำนาญงานในแต่ละสาขาซึ่งมีอยู่ในวงสังคมทั่วไป  คนเหล่านี้เป็น ผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งถึงแม้มิใช่นักศึกษาแต่สามารถจะช่วยความสะดวกหรือเชิญมาเป็นวิทยาการเพื่อเสริมการเรียนรู้ได้ในการให้ความรู้แต่ละด้าน  อาทิเช่น  ศิลปิน  นักการเมือง  นักธุรกิจ  ช่างซ่อมเครื่อง
2.  วัสดุ(materials)   ในการศึกษาโดยตรงเป็นประเภทที่บรรจุเนื้อหาบทเรียนโดยรูปแบบของวัสดุมิใช่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง  เช่น  หนังสือ  สไลด์  แผนที่  แผ่นซีดี  หรือสื่อต่างๆที่เป็นทรัพยากรในการเรียนการสอนนั้นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับวัสดุที่ใช้ในการศึกษาดังกล่าวเพียงแต่ว่าเนื้อหาที่บรรจุในวัสดุส่วนมากจะอยู่ในรูปของการให้ความบันเทิง  เช่น  คอมพิวเตอร์  หรือภาพยนตร์สารคดีชีวิตสัตว์สิ่งเหล่านี้ถูกมองไปในรูปแบบของความบันเทิงแต่สามารถให้ความรู้ในเวลาเดียวกัน
3.  อาคารสถานที่  (settings)  หมายถึง  ตัวตึก  ที่ว่าง  สิ่งแวดล้อม  ซึ่งมีผลเกี่ยวกับทรัพยากรรูปแบบอื่นๆที่กล่าวมาแล้วและมีผลกับผู้เรียนด้วย  สถานที่สำคัญในการศึกษา  ได้แก่ตึกเรียนและสถานที่ที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนการสอนโดยรวม  เช่นห้องสมุด  หอประชุม  ส่วนสถานที่ต่างๆ          ในชุมชนก็สามารถประยุกต์ให้เป็นทรัพยากรสื่อสารเรียนการสอน  ได้เช่น  โรงงาน  ตลาด  สถานที่ ทาง ประวัติศาสตร์เช่น  พิพิธภัณฑ์  เป็นต้น
4.  เครื่องมือและอุปกรณ์  (tools  and  equipment)  เป็นทรัพยากรทางการเรียนรู้เพื่อช่วยในการผลิตหรือใช้ร่วมกับทรัพยากรอื่นๆ  ส่วนมากมักเป็น  โสตทัศนูปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ  ที่นำมา           ใช้ประกอบหรืออำนวยความสะอาดในการเรียนการสอน  เช่นเครื่องฉายข้ามศีรษะ  คอมพิวเตอร์  เครื่องถ่ายเอกสาร  หรือแม้แต่ตะปู  ไขควง  เหล่านี้เป็นต้น
5.  กิจกรรม (activities)  โดยทั่วไปแล้วกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนมักจัดขึ้นเพื่อร่วมกระทำทรัพยากรอื่นๆ  หรือเป็นเทคนิควิธีการพิเศษเพื่อการเรียนการสอน  เช่น  เกม  การสัมมนา  การจัดทัศนศึกษา  กิจกรรมเหล่านี้มักมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่ตั้งขึ้น  โดยมีการใช้วัสดุการเรียนเฉพาะแต่ละวิชา  หรือวิธีการพิเศษในการเรียนการสอน


                                                           ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการสอน

สื่อการสอนประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย
วัสดุ  อุปกรณ์  เทคนิควิธีการ

วัสดุ / อุปกรณ์ / วิธีการ

ข้อดี
ข้อจำกัด
สิ่งพิมพ์ต่างๆเช่นหนังสือ
 ตำราเรียน  คู่มือ  วารสาร  ฯลฯ

-    เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง
-   สามารถอ่านได้ตามอัตราความสามารถแต่ละบุคคล
-   เหมาะสำหรับการอ้างอิง
-   สะดวกในการพกพา
-   ทำสำเนาจำนวนมากได้ง่าย
-   ถ้าจะให้ได้สิ่งพิมพ์ที่คุณภาพดีต้องใช้ต้นทุนในการผลิตสูง
-   บางครั้งต้องพิมพ์ใหม่เพื่อปรับปรุงข้อมูลที่ล้าสมัย
-   ผู้ที่ไม่รู้หนังสือไม่สามารถอ่านหรือทบทวนให้เข้าใจได้
-   ไม่สะดวกในการแก้ไขปรับปรุง
ของจริง  ของตัวอย่าง
-    แสดงภาพได้ตามความเป็นจริง
-   สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า
-   สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียดได้
-   บางครั้งอาจจะลำบากในการจัดหา
-   ของบางสิ่งอาจมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะนำมาแสดงได้
-   บางครั้งของนั้นอาจมีราคาสูงเกินไป
-   ปกติเหมาะสำหรับ
-   การเสนอต่อกลุ่มย่อย
-   เก็บรักษาลำบาก
ของจำลอง  หุ่นจำลอง  ขนาดเท่า  ย่อส่วน  หรือ  ขยายของจริง
-   อยู่ในลักษณะ  3  มิติ
-   สามารถจับต้องพิจารณารายละเอียดได้
-   เหมาะในการนำเสนอที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (เช่น  ลักษณะของอวัยวะภายในร่างกาย)
-   สามารถใช้แสดงหน้าที่และลักษณะส่วนประกอบ
-   ช่วยในการเรียนรู้และการปฏิบัติทักษะชนิดต่างๆ
-   หุ่นบางอย่างสามารถผลิตได้ด้วยวัสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่าย
-   ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิตส่วนมากจะราคาแพง
-   ปกติเหมาะสำหรับการแสดงต่อกลุ่มย่อย
-   ถ้าทำได้ไม่เหมือนของจริงทุกประการ บางครั้งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
วัสดุกราฟิก  เช่น  แผนภูมิ  แผนภาพ    กราฟ  การ์ตูน  ภาพถ่าย  ภาพวาด  ฯลฯ
-    ช่วยในการชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหา
-   ช่วยแสดงลำดับขั้นตอนของเนื้อหา
-   สามารถจัดหาได้ง่ายจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ
-   ผลิตได้ง่ายและสามารถผลิตได้จำนวนมาก
-   เก็บรักษาได้ง่ายด้วยวิธีผนึกภาพ
-   เหมาะสำหรับการเรียนในกลุ่มเล็ก
-   งานกราฟิกที่มีคุณภาพดี  จำเป็นต้องใช้ช่างเทคนิคที่มีความชำนาญในการผลิต
-   การใช้ภาพบางประเภท  เช่นภาพตัดส่วน  (sectional  drawings)  หรือภาพการ์ตูนอาจไม่ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความเข้าใจดีขึ้นเพราะไม่สามารถสัมพันธ์กับของจริงได้
กระดานชอล์ก
กระดานขาว








-   ต้นทุนในการผลิตต่ำ
-   สามารถเขียนงานกราฟิกได้หลายชนิด
-   ช่วยในการสร้างความเข้าใจตามลำดับเรื่องราวเนื้อหา
-   ผู้สอนต้องหันหลังให้กลุ่มผู้เรียนเมื่อเขียนกระดานทำให้ไม่สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดี
-   สามารถอ่านข้อความบนกระดานได้ไม่ไกลมากนัก  ทำให้กลุ่มผู้เรียนมีจำนวนจำกัด
-   ภาพ  หัวข้อ  หรือประเด็น  คำบรรยายต้องถูกลบไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก
-   ผู้สอนต้องมีความสามารถในการเขียนกระดานพอสมควร
กระดานผ้าสำลีและกระดานแม่เหล็ก
-   สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
-   วัสดุในการผลิตหาง่ายและสามารถผลิตได้เอง
-   เหมาะสำหรับแสดงความเกี่ยวกันของลำดับขั้นตอนเนื้อหา
-  ช่วยดึงดูดความสนใจ
-   สามารถให้กลุ่มผู้เรียนร่วมใช้เพื่อสร้างความสนใจ
-  ไม่เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
การจัดทัศนศึกษานอกสถานที่

-    ผู้เรียนสามารถสังเกตการณ์และมีส่วนร่วมได้ด้วยตนเอง
-   เปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมทำงานเป็นกลุ่มและสร้างสรรค์ความรับผิดชอบร่วมกัน
-   สามารถจูงใจเป็นรายบุคคลได้ดี
-   ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
-   จัดเฉพาะผู้เรียนกลุ่มย่อย
-   ต้องเตรียมการและวางแผนโดยละเอียดรอบคอบ
เกม
-   ดึงดูดความสนใจให้สนุกในกิจกรรมการเรียน
-   มีความแปลกใหม่แตกต่างไปจากการเรียนปกติ
-   สร้างบรรยากาศให้รู้สึกพอใจและผ่อนคลายแก่ผู้เรียน
-   ดึงความสนใจในงานที่ต้องทำซ้ำๆกันได้ดีกว่าการเรียนด้วยการฝึกฝนธรรมดา
-   กิจกรรมที่มีการแข่งขันจะใช้ไม่ได้ผลกับผู้เรียนที่ไม่มีความชำนาญหรือไม่ชอบการแข่งขัน
-   เกิดความไขว้เขวได้ง่าย  จึงต้องอธิบายกฎเกณฑ์และวิธีการเล่นอย่างถูกต้อง
-   ต้องระวังในการเลือกเกมที่มีการออกแบบให้ตรงกับทักษะในการเรียน
การจำลอง(simulation)
เช่น  บทบาทสมมุติเครื่องจำลอง
-   มีการฝึกปฏิบัติทักษะในโลกของจริงภายใต้สภาวะที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง
-   สามารถฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่เสี่ยงอันตรายได้โดยไม่เสี่ยงอันตรายได้โดยไม่เสี่ยงกับการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
-   การจำลองมีแต่เฉพาะลักษณะสำคัญของสถานการณ์โดยละทิ้งรายละเอียดต่างๆเพื่อใช้ได้อย่างสะดวกไม่ยุ่งยากแก่ความเข้าใจ
-   ผู้เรียนต้องใช้เวลามากในสถานการณ์ของปัญหาและทดลองด้วยวิธีการต่างๆ
-   การให้เรียนในสภาวะจำลองที่ง่ายกว่าความเป็นจริงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ถ้าต้องเผชิญกับสถานการณ์ในชีวิตจริงที่ไม่ง่ายดายเหมือนที่เคยปฏิบัติมา
การจัดนิทรรศการ
-   เป็นการให้การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีครูบรรยาย
-   เร้าให้เกิดความสนใจใฝ่รู้ ในเรื่องราวที่เสนอ
-   ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการจัดสื่อประกอบเนื้อหาบทเรียนที่จะนำเสนอ
-   เสริมสร้างความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลและสร้างความสามัคคีในกลุ่ม
-   สถานที่จัดอาจไม่เหมาะสมทำให้ไม่มีผู้ชมมากเท่าที่ควร
-   อาจมีงบประมาณไม่เพียงพอทำให้ไม่สามารถจัดหาสื่อได้ตามต้องการ
-   หากขาดการประชาสัมพันธ์ที่จูงใจจะทำให้มีผู้ชมน้อยส่งผลให้การจัดไม่ประสบผลตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้


การสาธิต
-   การนำเสนอการปฏิบัติและกรรมวิธีให้เห็นอย่างเป็นขั้นตอนได้ชัดเจน
-  ใช้สอนทักษะได้เป็นอย่างดี
-   สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนมีการรับรู้ร่วมกัน
-   กระตุ้นให้มีการซักถามและปฏิบัติตามขั้นตอนได้
-   ผู้สอนต้องมีทักษะความชำนาญในวิธีการสาธิตเป็นอย่างดีจึงจะสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น
-   อาจเสียค่าใช้จ่ายสูง
-   อาจไม่สามารถหาสถานที่ที่เหมาะสมในการสาธิตได้
การสอนแบบโปรแกรม
-   ผู้เรียนสามารถเรียนตามความสามารถของตน
-   ผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมอย่างกระฉับกระเฉงในการเรียนและได้รับผลป้อนกลับทันที
-   ให้รูปแบบการเรียนรู้ที่เชื่อถือได้
-   ให้ประสิทธิผลสูงกว่าการสอนแบบธรรมดา
-   ต้องการออกแบบการเรียนที่ดีโดยผู้เชี่ยวชาญจึงจะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพสูงสุดได้
-    การเรียนในบทเรียนเดียวซ้ำๆกันอาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนได้
-   เป็นลักษณะการสอนรายบุคคลจึงอาจทำให้ผู้เรียนขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม


สื่อการเรียนการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย
วัสดุและอุปกรณ์ประเภทเสนอภาพนิ่ง

วัสดุ
อุปกรณ์
ข้อดี
ข้อจำกัด
แผ่นโปร่งใสและเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
-  สามารถใช้ได้ในที่มีแสงสว่าง
-  เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
-  ผู้สอนหันหน้าเข้าหาผู้เรียนได้
-  ผู้สอนสามารถเตรียมแผ่นโปร่งใสไว้ใช้ล่วงหน้า  หรือสามารถเขียนลงไปพร้อมทำการบรรยายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ
-  แผ่นโปร่งใสบางประเภทสามารถแสดงให้การเคลื่อนไหวได้บ้าง
-   ถ้าจะผลิตแผ่นโปร่งใสมีลักษณะพิเศษจะต้องลงทุนสูง
-   ผู้เรียนไม่มีบทบาทร่วมในการใช้อุปกรณ์
สไลด์และเครื่องฉายสไลด์
-  เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก
-  ผลิตง่ายและทำสำเนาได้ง่ายเช่นกัน
-  สามารถเปลี่ยนรูปในการสอนได้ตามความต้องการ
-  สามารถปรับเปลี่ยนรูปได้ตามความต้องการของเนื้อเรื่อง
-  ใช้สะดวก  เก็บรักษาง่าย
-  ใช้ประกอบกับเครื่องบันทึกเสียงในการผสมสัญญาณเสียงและภาพ
-  สามารถใช้ได้กับเครื่องฉายที่ใช้ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่
ต้องฉายในห้องมืดพอสมควรยกเว้นจะมีจอ  Daylight  Screen
-   การถ่ายทำชุดสไลด์ที่ดีต้องมีการวางแผนทำบทสคริปต์  การถ่ายทำและการจัดภาพเป็นชุด
วัสดุทึบแสงและเครื่องฉายภาพทึบแสง
-  สามารถขยายภาพถ่าย  ภาพเขียนหรือวัสดุทึบแสงให้เป็นภาพที่มองดูมีขนาดใหญ่ได้
-  ใช้เป็นกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อเสนอภาพเคลื่อนไหวของวัตถุและการสาธิตภายในห้องเรียนได้
-  ให้ภาพที่ชัดเจน  สามารถขยายภาพและข้อความจากสิ่งพิมพ์ให้อ่านได้อย่างทั่วถึง
-  สามารถใช้กล้องตัวรองที่ฐานเครื่องเป็นกล้องวีดิทัศน์ที่ได้
-   ต้องใช้เครื่องในห้องที่มืดสนิทจึงจะเห็นภาพขยายได้ชัดเจน
-   เครื่องฉายภาพทึบแสงรุ่นเก่ามีขนาดใหญ่ทำให้ขนย้ายลำบาก
-  ต้องมีความระวังในการติดตั้งและการเก็บเครื่องอย่างดี
เครื่องวีดีโอโปรเจกเตอร์ (video  projector) หรือเครื่องแอลซีดี (crystal  display)
-   ใช้กับอุปกรณ์ได้หลายประเภท
-   สามารถเสนอภาพขนาดใหญ่จากอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อให้เห็นภาพได้อย่างทั่วถึง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
-   ถ้าต้องการเสนอภาพคมชัดมากๆจะต้องใช้เครื่องที่มีราคาสูง
-   ต้องมีความรู้ในการต่อสายเข้ากับเครื่องให้ถูกต้อง
-   ต้องระวังในการใช้งานและการปิด/เปิดเพื่อถนอมหลอดฉาย


                                                    สื่อการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย
วัสดุและอุปกรณ์ประเภทเสนอภาพเคลื่อนไหว

วัสดุ
อุปกรณ์
ข้อดี
ข้อจำกัด
โทรทัศน์วงจรปิด
-  เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
-  ใช้ถ่ายทอดเหตุการณ์หรือการสอนที่ผู้เรียน/ผู้ชมไม่สามารถรวมกันอยู่ในบริเวณที่เรียน/ที่ชมพร้อมกันได้
-  สามรถใช้ร่วมกับวีดีทัศน์ในการส่งภาพได้
-   รับภาพได้เฉพาะในบริเวณที่กำหนดไว้เท่านั้น
-   ถ้าต้องการถ่ายทอดภาพหลายจุดต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งจอภาพในบริเวณต่างๆ
โทรทัศน์วงจรเปิด
-  สามารถใช้ได้กับผู้เรียนหรือผู้ชมไม่จำกัดจำนวน  และสามารถแพร่สัญญาณไปได้ในระยะไกลๆ
-   ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
-   เหมาะสำหรับการใช้จูงใจ  สร้างทัศนคติและเสนอปัญหาให้ผู้เรียนคิดหรือเสริมสร้างการอภิปรายร่วมกัน
-  ช่วยลดภาระของผู้สอนคือ  แทนที่จะต้องบรรยายหลายครั้งหรือหลายแห่งในหัวข้อเดียวกันต่อผู้เรียนหลายกลุ่ม  ก็ใช้การแพร่สัญญาณไปยังที่ต่างๆได้ในเวลาเดียวกัน
-  การจัดรายการที่ดีต้องใช้ต้นทุนสูงมากและต้องใช้ช่างเทคนิคในการผลิตรายการ
-   เป็นสื่อสารทางเดียว  ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถถามข้อสงสัยได้ในทันที  และผู้สอนไม่สามารถทราบการตอบสนองของผู้เรียนได้
-  รายการที่เสนออาจไม่ตรงกับตารางสอนหรือบทเรียน
วิดีทัศน์
-  สามารถใช้ได้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
-  สามารถซ้ำเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจหรือทบทวน
-  แสดงการเคลื่อนไหวของภาพประกอบเสียงที่ให้ความรู้สึกใกล้เคียงของจริงมาก
-  ต้นทุนอุปกรณ์และการผลิตที่มีคุณภาพดีมีราคาสูง  และต้องใช้ช่างเทคนิคในการผลิต/จัดรายการ
-  ตัวอักษรที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์มีขนาดเล็กอ่านยาก
-  แถบเทปเสื่อมสภาพได้ง่าย
แผ่นดีวีดี (DVD: digital versatile disc)













-  แผ่นมีความจุตั้งแต่4-17จิกะไบต์  ทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์ได้ทั้งเรื่องโดยไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนแผ่นใหม่ขณะเล่น
-  คุณภาพของภาพบนแผ่นดีวีดีให้ความคมชัดมาก  โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแถบวีดีทัศน์
-  ให้เสียงดอลบีเซอร์ราวด์ช่วยให้การชมภาพยนตร์มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น
-  สามารถเลือกชมตอนใดของภาพยนตร์โดยไม่ต้องเรียงตามเนื้อเรื่อง
-  เลือกเสียงได้หลายภาษา
-  ไม่ยึดหรือเสียหายง่ายเหมือนแถบเทป
-  สามารถทำความสะอาดได้ง่ายหากเกิดความสกปรกบนแผ่น
-  เครื่องเล่นสามารถเล่นได้ทั้งแผ่นซีดีแผ่นวีซีดี  และแผ่นดีวีดี


-   แผ่นดีวีดีคุณภาพดียังมีราคาสูงพอควร
-   การบันทึกภาพยนตร์ลงแผ่นต้องใช้อุปกรณ์ราคาสูงพอควร
-   ผู้ใช้อาจไม่สะดวกในการบันทึก  ภาพยนตร์ลงแผ่นได้เอง













แผ่นวีซีดี  (vcd:video-compact disc)
-  คุณภาพของภาพบนแผ่นวีซีดีให้ความคมชัดมากกว่าแถบวีดีทัศน์
-  ไม่มีการยึดเหมือนแถบวีดีทัศน์
-  เครื่องเล่นแผ่นวีซีดีสามารถเล่นแผ่นซีดีได้ด้วย
-  ทำความสะอาดได้ง่ายหากเกิดความสกปรกบนแผ่น
-  ผู้ใช้อาจไม่สะดวกในการบันทึกภาพยนตร์ลงแผ่นได้เองเหมือนการใช้แถบวีดีทัศน์
-   แผ่นมาตรฐานสูงไม่สามารถใช้เล่นเครื่องเล่นมาตรฐานธรรมดาได้


                                             สื่อการสอนประเภทเครื่องเสียง

วัสดุ / อุปกรณ์ 

ข้อดี
ข้อจำกัด
วิทยุ
-   สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่  หรือรายบุคคล
-   ระยะกระจายเสียงกว้างและถ่ายทอดได้ในระยะไกลๆ
-   ลดภาระของผู้สอนหรือผู้บรรยายในการเดินทางไปสอนในที่ต่างๆ
-   สามารถให้ความรู้แก่ผู้ที่ไม่สามารถอ่านเขียนจากใช้ทักษะในการฟังเพียงอย่างเดียว
-   ดึงดูดความสนใจได้ดี
-   เครื่องรับวิทยุราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้
-   สามารถใช้กับสื่ออื่น  เช่น  สิ่งพิมพ์ 

-   ต้องใช้ห้องที่ทำขึ้นเฉพาะเพื่อการกระจายเสียง
-   ผู้ฟังหรือเรียนต้องปรับตัวเข้าหารายการ  เนื่องจากผู้บรรยายไม่สามารถปรับตัวเข้าหาผู้ฟังได้
-   เป็นการสื่อสารทางเดียวทำให้ผู้บรรยายไม่สามารถทราบปฏิกิริยาสนองกลับของผู้ฟัง
เทปบันทึกเสียง
-   ใช้ได้โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน
-   เหมาะสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือกับกลุ่มย่อย
-   การเปิด/ปิด/เดินหน้า  ย้อนกลับสามารถทำได้สะดวก
-   ต้นทุนการผลิตต่ำ
-   อุปกรณ์ราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้
-   ใช้ได้หลายสภาวการณ์  เช่น  ใช้ประกอบสไลด์  ใช้บันทึกเสียงที่ไม่สามารถฟังได้ทั่วถึง  เช่น  ฟังการเต้นของหัวใจ  เป็นต้น
-   การบันทึกเสียงที่คุณภาพดีจำเป็นต้องใช้ห้องและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพสูง
-   ต้องมีความชำนาญพอสมควรในการตัดต่อเทป
-   ต้องระมัดระวังในการเก็บรักษา
แผ่นซีดี  (CD:compact disc)



-   บันทึกเสียงประเภทต่างๆในระบบดิจิทัลที่ให้ความคมชัดมาก
-  เรียกค้นข้อมูลเสียงได้รวดเร็ว
-  มีความทนทานใช้งานได้นาน
-  ขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา
-   ไม่สามารถบันทึกได้ถ้าใช้แผ่น  CD-R
-   เครื่องเล่นมีราคาสูงกว่าเครื่องเล่นเทปเสียง

                               
                       
                                           สื่อประสมเชิงโต้ตอบ  (Interactive  Multimedia)

วัสดุ / อุปกรณ์
ข้อดี
ข้อจำกัด
คอมพิวเตอร์
-   ใช้งานได้หลายประเภท  เช่นคำนวณ  จัดเก็บฐานข้อมูล  งานกราฟิก  จัดหน้าสิ่งพิมพ์  ฯลฯ
-   ใช้แก้ปัญหาต่างๆที่ซับซ้อน
-   เสนอข้อมูลได้หลายประเภท
-   มีการโต้ตอบกับผู้เรียน
-   สามารถบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในหน่วยความจำอื่น  เช่น  แผ่นซีดี
-   ใช้ร่วมกับโมเด็มหรือแบบไร้สายเพื่อใช้บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารข้อมูลกับฐานข้อมูลอื่นๆได้ทั่วโลก
-   ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารได้  เช่น  การรับส่งเมล  การประชุมทางไกล ฯลฯ
-   เครื่องกระเป๋าหิ้วและแบบมือถือมีขนาดเล็กเหมาะแก่การพกพาไปใช้ในที่ต่างๆได้
-   เครื่องที่มีสมรรถนะการใช้งานสูงจะมีราคาสูงพอสมควร
-   ต้องมีการบำรุงรักษาตามระยะเวลา
-   ต้องใช้กับโปรแกรมซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ  จึงจะใช้งานได้
-   มีการเปลี่ยนแปลงด้านอุปกรณ์  เช่น  ความเร็วต่างๆจนทำให้เครื่องที่มีอยู่ล้าสมัยได้เร็ว







บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (ซีเอไอ) (computer-assisted  instruction : CAI)




-   ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับบทเรียนได้
-   สามารถให้ผลป้อนกลับได้ในทันที
-   มีรูปแบบบทเรียนให้เลือกใช้มากมาย  เช่น  การสอน  ทบทวน  เกม         การจำลอง
-   เสนอบทเรียนได้ทั้งลักษณะตัวอักษรภาพ  และเสียง
-   ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหา
    บทเรียนและทำกิจกรรมได้ตามความสามารถของตนในลักษณะการศึกษารายบุคคล

-   ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมบทเรียน
-   โปรแกรมซอฟต์แวร์บางประเภทมีราคาสูงพอควร

           
แผ่นซีดี  ซีดีอาร์  และ  ซีดีอาร์ดับเบิลยู   (CR-Rom,CD-R,CD-RW)








-   สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง  700     เมกะไบต์
-   บันทึกข้อมูลได้ทั้งตัวอักษร  ภาพนิ่ง  กราฟิก  แอนิเมชั่น  เคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์  และเสียง
-   ไม่มีการเผลอลบข้อมูลที่บันทึกไว้  แล้ว
-   ค้นข้อมูลได้เร็วและถูกต้อง
-   มีอายุการใช้งานนานและยากแก่การบุบสลาย
-  ขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา
-   แผ่นซีดีรอมและแผ่นซีดีอาร์จะไม่สามารถบันทึกทับข้อมูลเดิมได้
-   ต้องใช้เล่นร่วมกับคอมพิวเตอร์
















รูปแบบและวิธีการการใช้เทคโนโลยี
ในการเรียนการสอน

รูปแบบ/วิธีการ
ข้อดี
ข้อจำกัด
สื่อหลายมิติ(hypermedia)
-   สามารถอ่านเนื้อหาในตอนใดที่ต้องการได้โดยไม่ต้องเรียงตามลำดับเชื่อมโยงข้อมูลได้สะดวก
-   เนื้อหาบทเรียนมีทั้งภาพกราฟิก       ภาพวีดีทัศน์  เสียงพูด  เสียงดนตรี
-   ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนและได้รับผลป้อนกลับทันที


-   ต้องใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูงในการผลิตบทเรียน
-   ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการสร้างบทเรียน
-   ต้องใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ 
     คุณภาพสูง
-   การผลิตบทเรียนที่ดีต้องใช้อุปกรณ์ร่วมหลายอย่าง   เช่น  เครื่องเสียง  กล้องดิจิทัล  
อินเทอร์เน็ต (Internet)
-   ค้นคว้าข้อมูลได้ทั่วโลก
-   ติดตามข่าวสารความรู้ได้อย่างรวดเร็ว
-   สนทนากับผู้ที่อยู่ห่างไกล
-   รับส่งไปรษณีย์  รูปแบบข้อความ  ภาพ  และเสียงได้
-   ใช้ในการเรียนการสอนได้มากมายหลายรูปแบบ  เช่นการสอนบนเว็บทางไกล
-   ข้อมูลที่ได้อาจไม่ถูกต้องเพราะไม่มีใครรับรอง
-   ต้องมีการศึกษาใช้งานเพื่อสืบค้นข้อมูล
-   ประชาชนไม่มีความรู้ด้านไอที
เวิลด์ไวด์เว็บ
(World  Wide  Web)
-   ผู้เรียนใช้ได้ทุกคน
-   เป็นเทคโนโลยีราคาถูก
-   ผู้เรียนด้วยเว็บสามารถเรียน    ที่ใดที่หนึ่งได้สะดวก
-   สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนได้
-   การสื่อสารยังใช้แบนด์วิดท์แคบทำให้สื่อสารการสอนที่ส่งบนเว็บจำกัดอยู่เพียงข้อความและภาพนิ่งเป็นส่วนมาก
-   ไม่เหมาะกับวัฒนธรรมบางประเทศที่เคร่งต่อประเพณีเก่า
-   ผู้เรียนอาจได้ดูเว็บไม่ปกติ


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์      (e-mail)  
-  ช่วยในเรื่องของเวลา
-  เปิดโอกาสให้สอบถามเป็นการส่วนตัว
-  สามารถแบ่งปันข้อมูลกันได้
-  ไม่สามารถแสดงความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติได้
-   อาจเกิดความผิดพลาดในเวลาที่ไม่ต่อเนื่อง
การสอนบนเว็บWBI : (web-based  instruction)
-   ขยายโอกาสให้ผู้เรียนรอบโลก
-   เรียนด้วยการสื่อสารหลายแบบ
-   มีการเรียนทั้งแบบประสานเวลาและแบบไม่ประสานเวลา
-  ผู้สอนและเรียนอาจไม่พบหน้ากันเลย  อาจทำให้ผู้เรียนบางคนอึดอัดและไม่สะดวกในการเรียน
-   ผู้สอนต้องใช้เวลาเตรียมการสอนมากกว่าปกติ
-   ผู้เรียนต้องรู้จักควบคุมการเรียนของตนเองจึงจะประสบผลสำเร็จในการเรียนได้
การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม
-   ถึงแม้จะมีการลงทุนค่อนข้างสูงในเบื้องต้นในเรื่องของห้องสตูดิโอและอุปกรณ์รับสัญญาณแต่สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นสิ่งเปลืองเหมือนวัสดุอื่น
-    เป็นการลงทุนอย่างคุ้มค่าเมื่อเทียบกับความสามารถในการรับบทเรียนและการสอนเพื่อผู้เรียนกลุ่มใหญ่
-   การบรรยายบทเรียนเป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับผู้เรียนทุกแห่ง
-   สามารถใช้รูปแบบการสื่อสารสองทางเมื่อใช้ร่วมกับโทรศัพท์
-  ต้องใช้ทุนสูงในการเริ่มต้น  รวมถึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการดำเนินในการดำเนินงาน
-   หากเป็นการรับสัญญาณผ่านโทรทัศน์จะไม่มีลักษณะการยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาและสถานที่เรียนเหมือนการเรียนบนเว็บ
-   ความจำเป็นในการอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน  การรักษาความปลอดภัย  ต้องเพิ่มงบประมาณมากขึ้นกว่าปกติ




การประชุมทางไกลด้วยวีดีทัศน์
-   ประหยัดเวลาในการเดินทางของผู้สอน
-   ผู้สอนไม่จำเป็นต้องปรับวิธีการสอนมากนักจากวิธีการเรียนในชั้นเรียน
-   สามารถส่งภาพและเสียงไปพร้อมกันได้
-  หากเป็นการรับภาพทางโทรทัศน์ต้องใช้ต้นทุนสูง  ต้องปรับปรุงห้องเรียนเช่น    มีแสงเพียงพอ  ระบบเสียงดี
-   หากรับภาพทางอินเทอร์เน็ตต้องใช้กล้องที่มีคุณภาพสูงเพื่อส่งภาพที่มีคุณภาพซึ่งย่อมมีราคาสูงตามไปด้วย
เทคโนโลยีไร้สาย



















-  ระบบเคลื่อนที่ทำให้คล่องตัวในการใช้งาน  ผู้สอนเป็นอิสระในการเดินดูผู้เรียนทั่วห้อง  และผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ทุกสถานที่ไม่จำเป็นต้องนั่งเฉพาะในห้องเรียน
-   เกิดความยืดหยุ่นในการเรียนการสอนทั้งรูปแบบและวิธีการ
-   เชื่อมต่อเว็บได้ทันทีเพื่อการสื่อสารและความร่วมมือในการทำงาน
-   เพิ่มความสามารถ  เพิ่มความสามารถในการทำงานด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นกว่าแบบเดิม
-   ใช้การสื่อสารด้วยเสียงบนอินเทอร์เน็ตได้ในห้องเรียนที่ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ได้
-  ประหยัดค่าใช้จ่ายทำให้ไม่ต้องเสียค่าเดินสายเคเบิลในอาคารและบริเวณโดยรอบ

-   อุปกรณ์ไร้สายจะมีราคาสูงกว่า  อุปกรณ์ใช้สาย
-   ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในเรื่องของการ์ดเพื่อการสื่อสารหากใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ไม่มีเสาอากาศไร้สาย













ประโยชน์ของสื่อการสอน
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง  ๆ ได้ดังนี้
                   · ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
                   · ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
                   · ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
                   · ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
                   · ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
                   · นำอดีตมาศึกษาได้
                  · นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น
สรุป
         
           สื่อนับเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสอนตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ตรงกับผู้สอนต้องการ  ไม่ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น สื่อการสอนเป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการถ่ายทอดสาร จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ซึ่งกระบวนการสื่อความหมายนั้น เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้น การถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการสื่อความหมายด้วยเช่นกันและคุณค่าของสื่อการสอนนั้น เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยในการจัดสภาพการเรียนรู้ เอื้อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม โดยช่วยทำให้สิ่งที่ยากต่อการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง หรือสามารถเรียนรู้ได้ในกลุ่มขนาดใหญ่ ช่วยลดช่องว่างทางการเรียนรู้ ทั้งด้านระยะเวลา ระยะทาง งบประมาณ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ช่วยขจัดหรือลดอุปสรรคทางการเรียนรู้ลงนั่นเองส่วนการแบ่งประเภทของสื่อการสอนนั้น ไม่ว่าจะแบ่งโดยใช้เกณฑ์ใด ก็ยังคงอ้างอิงอยู่กับลักษณะของการรับรู้ และการเรียนรู้ เป็นหลัก ไม่ว่าจะแบ่งโดยใช้มิติ หรือ ลักษณะการนำไปใช้ หรือแม้แต่รูปร่างของสื่อ สิ่งที่สำคัญของสื่อการสอนนั้น ไม่ใช่ประเภทของสื่อ แต่เป็นการออกแบบเพื่อการส่งสาร โดยต้องอาศัยการเลือกใช้ว่าจะออกแบบ และเลือกใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือใด ให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ และสภาพแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น เราคงไม่สามารถใช้สื่อประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในสถานที่ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าได้ ดังนั้น การเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และวัตถุประสงค์ของการสอน จึงมีความสำคัญสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  โดยผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้  นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆ  เพื่อประกอบการพิจารณาอีกมากมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น